วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 5

1.ให้นักศึกษาค้นหาไวรัสคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมา 5 ชนิด โดยบอกชื่อและรายละเอียดการทำงานของไวรัส

บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันทีบูตไวรัส   จะ ติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้นไฟล์ไวรัส  ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตนามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์
แวร์เป็นต้น

มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น

หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้
รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้


โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน
(คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือมันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง


2.จงบอกความแตกต่างระบบการรักษาความปลอดภัยในการชำระเงิน แบบ SSL และ SET
1. SSL เป็นระบบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลกันระหว่าง Clientกับ Serverซึ่งโดยปกติแล้วข้อมูลที่ส่งไปหากันนั้นจะไม่มีการเข้ารหัสแต่อย่างใดทำให้การดักจับข้อมูลเป็นไปได้โดยง่าย แต่ถ้าเป็นระบบที่ใช้ SSLแล้วนั้นข้อมูลจาก Client ที่จะส่งไปยัง Serverนั้นจะถูกเข้ารหัสก่อนที่จะส่งไปที่ Serverทำให้ข้อมูลที่จะส่งถึงกันนั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเรียกดูได้ แต่ CAจะส่งไปยังธนาคาร
2.SET (Secure Electronic Transaction) ปัจจุบันมีใช้อยู่ใน 34 ประเทศซึ่งระบบนี้จะมีความปลอดภัยกว่าระบบแรกที่กล่าวมา ระบบ SETจะแตกต่างจากระบบ SSL ตรงที่ระบบ SETจะมีหน่วยงานกลางที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อยืนยันการทำธุรกรรม(Certification Authority: CA) ระบบ SET จะมีความปลอดภัยและไว้วางใจได้จากทุกฝ่ายเนื่องจากทุกฝ่ายจะสามารถยืนยันตัวตนได้โดยการรับรองของ CA โดยที่ทุกฝ่าย(ลูกค้า- ร้านค้า- ธนาคาร) จะมี Private key และ Public key โดยที่ Publickey นั้นทาง CA จะเป็นผู้เก็บไว้เพื่อทำการตรวจสอบเมื่อมีการสั่งซื้อสินค้า ร้านค้าจะได้รับข้อมูลเฉพาะใบสั่งซื้อส่วนหมายเลขบัตรเครดิตทางร้านค้าไม่สามารถเพื่อเรียกเก็บเงิน

3.จงอธิบายความหมายและข้อแตกต่างของ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
Digital Signature เป็นสิ่งที่แสดงยืนยันตัวบุคคล (เจ้าของ email) และ email (ข้อความใน email)   ว่า email นั้นได้ถูกส่งมาจากผู้ส่ง คนนั้นจริงๆ และข้อความไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงและแก้ไขในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายนั้น นอกจากจะทำให้ข้อมูลที่ส่งนั้นเป็นความลับสำหรับผู้ไม่มีสิทธิ์โดยการใช้เทคโนโลยีการรหัสแล้ว สำหรับการทำนิติกรรมสัญญาโดยทั่วไป ลายมือชื่อจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการระบุตัวบุคคล (Authentication) และ ยังแสดงถึงเจตนาในการยอมรับ เนื้อหาในสัญญานั้นๆซึ่งเชื่อมโยงถึง การป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ (Non-Repudiation) สำหรับในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะใช้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ซึ่งมีรูปแบบต่างๆเช่น สิ่งที่ระบุตัวบุคคลทางชีวภาพ (ลายพิมพ์นิ้วมือ เสียง ม่านตา เป็นต้น) หรือ จะเป็นสิ่งที่มอบให้แก่บุคคลนั้นๆในรูปแบบของ รหัสประจำตัว ตัวอย่างที่สำคัญของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับการยอมรับกันมากที่สุดอันหนึ่ง คือ ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งใน โครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure, PKI)

4.ให้นักศึกษาบอกประโยชน์จากการเล่นอินเตอร์เน็ต หรือเล่นเกมส์ในเวลาเรียนมาอย่างน้อยคนละ 5 ข้อ

1. ได้รู้ข่าวสารเรื่องทั่วไป
2. แก้เครียด
3. หาข้อมูลในส่วนที่เราไม่รู้ได้
4.เพิ่มความสามารถในการพิมพ์ดีด
5.สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในอินเตอร์เน็ตได้

5.ให้นักศึกษาบอกผลเสียจากการเล่นอินเตอร์เน็ต หรือเล่นเกมส์ในเวลาเรียนมาอย่างน้อยคนละ 5 ข้อ

1.โดนอาจารย์ว่า
2.ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง
3.ทำงานส่งไม่ได้
4.ทำให้สอบไม่ได้
5.ทำให้เรียนไม่จบ

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Assignment-วิเคราะห์เว็บไซต์

ชื่อ Domain: roumsookshop.com
ปีที่เริ่มจดทะเบียน   4/15/2009
ปีที่สิ้นสุด: 04/15/2012
ผู้ที่เป็นเจ้าของ Sukanya Roumsook lovefamily_nuy@hotmail.com
ที่อยู่ของบริษัท 314 Soi.Ladprao 87 Ladprao Rd.Wanthonglang,Bangkok,TH 10310สินค้าหรือบริการที่นำเสนอ: เสื้อผ้า
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: ทุกวัยตามควายชอบ
รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: B2c
พันธมิตรเว็ปไซต์: -
รูปแบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า: โทรศัพท์ อีเมล์  เว็บบอร์ด

สถิติผู้เข้าชม: ไม่ระบุ
ลักษณะการออกแบบเว็บไซต์: สวยงาม ทำให้หน้าดู
กลยุทธ์การตลาด 6P:  มีสินค้าหลายอย่างให้เลือก
ความถี่ในการ Update สินค้า ทุกวัน

ความหมายของโดเมนและการออกแบบหน้าเว็บ

1.  บอกความหมายของ Domainname 2 ระดับ ประเภทต่างๆ ได้แก่
 1.1  .com  ::  กลุ่มคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานประเภทธุรกิจหรือหน่วยงานเอกชน
     1.2. .org  ::  องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร เช่น สมาคม หรือมูลนิธิ
     1.3. .net   ::  องค์กรใด หรือบริษัทใด ที่ทำงานเกี่ยวกับ เกตเวย์ (Gateway) หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย(Network)
     1.4. .edu  ::  สถาบันการศึกษา
     1.5. .gov  ::  องค์กรของรัฐบาล
     1.6. .mil   ::  องค์กรทางทหาร
     1.7. asia   ::  จดทะเบียนโดยบริษัทหรือบุคคลที่อยู่ในเอเชียเท่านั้น
     1.8. .travel  ::  เว็บไซต์การท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์
     1.9. .mobi  ::  เว็บไซต์โทรศัพท์มือถือ
     1.10. .job  ::  เว็บไซต์สำหรับบริษัท

2.  บอกความหมายของประเภทขององค์กรที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน ได้แก่

.comย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร
.netย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย
.orgย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.bizย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.infoย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.usย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
.co.thย่อมาจาก commercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
.ac.thย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.or.thย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.in.thย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
.net.thย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง หน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย


3.  บอกความหมายของประเทศที่ตั้งขององค์กรที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่      3.1 .th  ::  ประเทศไทย
     3.2 .cn  ::  ประเทศจีน
     3.3 .uk  ::  ประเทศอังกฤษ
     3.4 .jp  ::  ประเทศญี่ปุ่น
     3.5 .au  ::  ประเทศออสเตรเลีย

4.  ยกตัวอย่างชื่อโดเมนเนม ประเภทต่างๆ อย่างน้อย 5 ชื่อ
 
5.  ยกตัวอย่างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ 1 เว็บไซต์ เพื่ออธิบายหลักการออกแบบหน้าเว็บไซต์นั้นๆ
 
 5.1. ความเรียบง่าย  ::  มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้สะดวก มีกราฟิกหรือตัวอักษรที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ชนิดและสีของตัวอักษรไม่มากจนเกินไป

    5.2  ความสม่ำเสมอ  ::  ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เลยไม่ทำให้สับสน

    5.3  ความเป็นเอกลักษณ์  ::  เว็บไซต์นี้ใช้รูปแบบที่ไม่เหมือนใคร โดยนำรูปของเล่นมาเป็น BG แล้วเขียนชื่อเว็บของตัวเองโดยมีลูกเล่นคือทำเป็นผูกชื่อเว็บไว้กับลูกโป่งเหมือนชื่อเว็บกำลังลอยอยู่

    5.4  เนื้อหาที่มีประโยชน์  ::  เว็บไซต์นี้มีเนื้อหารายละเอียดและราคาและรูปของสินค้าทุกตัว 

    5.5  ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย  ::  เว็บไชต์นี้มีรูปแบบการวางรูปและสินค้าอย่างเป็นระเบียบคือแยกสินค้าตามขนาดและราคาทำให้ง่ายต่อการเข้าไปดู 

   5.6  ลักษณะที่น่าสนใจ  ::   เว็บไซต์นี้มีการใช้สี การใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย สบายตา การใช้โทนสีที่เข้ากัน และลักษณะหน้าตาที่น่าสนใจและเน้นความเป็นเด็กเพื่อดึงดูดลูกค้า

   5.7  ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง  ::  เว็บไซต์ที่ยกตัวอย่างมานี้ สามารถกรอกได้จริง ใช้งานได้จริง ลิงค์ต่างๆ จะต้องเชื่อมโยงไปหน้าที่มีอยู่จริงและถูกต้อง 

   5.8  คุณภาพในการออกแบบ  ::  เว็บไซต์นี้มีการออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ สร้างความรู้สึกว่าเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือได้ 

   5.9  การใช้งานอย่างไม่จำกัด  ::  เว็บไซต์นี้สามารถเลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดก็ได้ในการเข้าถึงเนื้อหา สามารถแสดงผลได้ทุกระบบปฏิบัติการและความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่างไม่มีปัญหา

E-commerce

1.ให้นักศึกษายกตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีรูปแบบธุรกิจของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2B, B2C, C2C, Brick and Motar, Chick and Chick มาอย่างน้อยรูปแบบละ 3 เว็บไซต์ พร้อมทั่งอธิบายว่าป็นเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไร
แบบ B2B :: www.microsoft.xom เป็นบริษัทซอฟแวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตซอฟท์แวร์สำหรับบุคคล
ทั่วไปและบริษัทห้างร้าน
www.cisco.com ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์ทางด้านเครือข่าย
www.dell.com เป็นบริษัทขายคอมพิวเตอร์
แบบ B2C :: www.amazon.com บริษัทผู้ขายของปลีกสินค้าผ่านเว็ปไซต์
www.etrade.com เป็นเว็ปไซต์ที่เกี่ยวกับซื้อขายหุ้น
www.agoda.co.th เป็นเว็ปไซต์สำหรับจองโรงแรมในประเทศ
แบบ C2C :: www.ebay.com เป็นเว็ปไซต์ประมูลสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
www.pramool69.com เว็ปประมูลสินค้าออนไลน์
www.bidokay.com เว็ปประมูลสินค้า
แบบ Brick and Motar :: www.naiin.com ร้านขายหนังสือ
www.watsons.co.th ร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
www.boots.com ร้านขายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
แบบ Click and click :: www.usedcloh.com ร้านขายเสื้อผ้ามือสองจากญี่ปุ่น
www.thaimobilecenter.com ร้านขายมือถือ
www.bkkshopping.net ร้านขายกระเป๋าแฟชั่น

2.ให้นักศึกษาบอกประโยชน์ของการค้าแบบออนไลน์หรือ E- commerce มาอย่างน้อย 5 ข้อ

-ลดเวลาในการจัดซื้อ
-เพิ่มประสิทธิภาพในระบบภาพในสำนักงาน
-ลดภาระสินค้าคงครัง
-เพิ่มสินค้าและบริการใหม่
-เพิ่มความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ทั่วถึง
3.ให้นักศึกษาหาข้อจำกัดของการค้าแบบออนไลน์หรือ E- commerce มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1 E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
2 ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญาซื้อขายผ่านระบบ Internet จะมีผลถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
3 ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ จึงต้องจัดการระบบการรักษาความปลอดภัยในการอ้างสิทธิให้ดีพอ
4 E-Commerce ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการทางธุรกิจที่ดีด้วย การนำระบบนี้มาใช้จึงไม่สมควรทำตามกระแสนิยม เพราะถ้าลงทุนไปแล้วไม่สามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้าได้ ย่อมเกิดผลเสียต่อบริษัท
5 ข้อจำกัดทางโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Limitations) เป็นข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไทยเอง เช่น Dial Speed ที่จำกัดแค่ 56Kbps มอนิเตอร์ 14 หรือ 15 นิ้วซึ่งเริ่มไม่พอที่จะแสดงผลได้หมด การยัดเยียดลูกเล่นต่างๆ มากมายลงไปใน Web ทำให้การ Load Web ช้ามาก เป็นต้น

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

รวมงาน

1. คำถาม 5 ข้อ
http://jack-pongthong.blogspot.com/2011/08/blog-post_11.html

2.ปุ่ม 5 ปุ่มที่ให้ออกแบบ


3. นามบัตร

4. ปกนิตยสาร



5.Post card

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดเก็บแฟ้มภาพกราฟิก

 ความละเอียดของภาพ 
             ความละเอียดของภาพหมายถึง  จำนวนจุดที่ใช้ในการประกอบกันเป็นภาพ  เช่น  ความละเอียดของภาพขนาด 640 x 480 จุด
จำนวนสี
           จำนวนสีหมายถึง  จำนวนสีที่จุดภาพสามารถเก็บหรือแสดงได้  เช่น จุดภาพ 1 จุดที่ใช้เนื้อที่ 8 บิต  จะมีจำนวนสีได้ 256 สี

รูปแบบของแฟ้มข้อมูลกราฟิก 
             รูปแบบของแฟ้มข้อมูลกราฟิก  หมายถึง  รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บภาพกราฟิกลงในแฟ้ม  มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน  ตัวอย่างเช่น
          1)  จิฟ  (Graphics interchange Format : GIF)  หรือที่มีส่วนขยายแฟ้มเป็น .GIF


จุดเด่น
  • มีขนาดไฟล์ต่ำ
  • สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent)
  • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace
  • มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก
  • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
  • ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)

จุดด้อย
  • แสดงสีได้เพียง 256 สี
ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่
GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987
              เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace)

GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 
 2)  เจเพ็ก (Joint Photographic Expert Group Graphics : JPEG)  หรือที่มีส่วนขยายแฟ้มเป็น    .JPEG เป็นรูปแบบของแฟ้มภาพกราฟิกแบบกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาพ ที่พัฒนาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐาน ( ISO) และคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศเกี่ยวกับโทรเลขและโทรศัพท์(CCITT)  รูปแบบนี้เหมาะสำหรับงานถ่ายภาพ  ภาพศิลปะ  และภาพวาดที่มีคุณภาพสีสันตามธรรมชาติ  ความละเอียดคมชัดไม่เหมาะกับงานภาพลายเส้น  ข้อความ  หรืองานการ์ตูนง่าย ๆจุดเด่น
  • สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
  • สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
  • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive
  • มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
  • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
  • ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)
จุดด้อย
          ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้
 3)  บีเอ็มพี (bitmap)  หรือที่มีส่วนขยายแฟ้มเป็น  .bmp เป็นรูปแบบของแฟ้มภาพกราฟิกซึ่งออกแบบโดยบริษัทไมโครซอฟต์  เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้งานได้ดีกับโปรแกรมที่ทำงานภายใต้วินโดว์ และใช้งานมากบนระบบวินโดว์  จุดประสงค์ของรูปแบบ นี้เน้นให้แสดงผลได้รวดเร็วบนระบบวินโดว์
ข้อควรคำนึงในการจัดเก็บแฟ้มภาพกราฟิก 
 1)  เลือกใช้จำนวนสีให้เหมาะสม   การใช้จำนวนสีมากจะทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง  แต่จะสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมาก  ดังนั้นการเลือกใช้จำนวนสีที่เหมาะสมกับภาพจะทำให้เปลืองเนื้อที่น้อยกว่าและส่งผลให้สามารถประมวลผลภาพได้เร็วขึ้น
2)  เลือกรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีขนาดลดลง  รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกมีผลขนาดของแฟ้มข้อมูล  เช่น  รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิ แบบ  bmp  ถูกออกแบบมาเพื่อให้นำแสดงผลได้รวดเร็ว  แฟ้มเหล่านี้จะกินเนื้อที่มาก รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบเจเพ็ก  (.jpeg) มีผลให้คุณภาพของภาพด้อยลง  แต่ลดขนาดแฟ้มภาพกราฟิกให้มีขนาดหนึ่งในสามของรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบจิฟ (.gif)  ในขณะที่รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบจิฟ (.gif) เก็บจำนวนสี 256 สี  ดังนั้นควรเลือกรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บภาพกราฟิก
 3)  เลือกใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูล   ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บภาพในรูปแบบแฟ้มที่ลดขนาดข้อมูล  การเลือกใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูลบางตัว เช่น  pkzip หรือ  winzip จะช่วยลดขนาดข้อมูลในการจัดเก็บลงแฟ้มได้


เทคนิคการสร้างภาพกราฟิก

 การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์มีเทคนิคอยู่สองวิธี  คือ  กราฟิกแผนที่บิต (bitmapped graphics)  หรือกราฟิกแรสเตอร์ (raster graphics)  หรือกราฟิกจุดภาพ (pixel graphics) และกราฟิกเส้นสมมติ (vector graphics)  หรือกราฟิกเชิงวัตถุ (object – oriented graphics)
กราฟิกแผนที่บิตหรือภาพแบบบิตแมป (bitmapped graphics)
             โปรแกรมสำหรับสร้างภาพโดยใช้เทคนิคกราฟิกแผนที่บิต  ซึ่งทั่วไปเรียกว่า  โปรแกรมระบายสี (paint program)  จะสร้างและเก็บภาพกราฟิกไว้ในรูปแบบของจุดบนจอภาพ (screen pixels)  ซึ่งเรียงต่อกัน  โดยแต่ละจุดภาพ (pixels)  จะแยกกันยู่ในตำแหน่งหน่วยความจำอย่างอิสระ  มีลักษณะประจำของจุดแต่ละจุด  เช่น  สี  ความเข้มแสง  จึงทำให้สามารถปรับแต่งสีได้อย่างสวยงาม  แต่เนื่องจากการเรียงต่อของจุดภาพอยู่ในลักษณะตาราง  ภาพที่ได้จึงมีรอยหยักที่เกิดจากรูปสี่เหลี่ยมของจุดแต่ละจุด
ตัวอย่างไฟล์ :  .BMP, .PCS, .TIF, .GIF, .JPG, .PCD
ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมป เช่น Adobe Photoshop , Fractal Design Painter , Paint Shop Pro , L-View เป็นต้น
ข้อดีของกราฟิกแผนที่บิต 
           •  สามารถเก็บรายละเอียดของภาพให้มีสีสันต่าง ๆ ได้ดีกว่า เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียด สวยงามได้ง่าย
           •  สามารถตกแต่งภาพและเพิ่มรายละเอียดพิเศษที่น่าสนใจ  เช่น  ปรับความเข้มแสง  ปรับแต่งสี  แรเงา
ข้อเสียของกราฟิกแผนที่บิต 
           •  สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บแฟ้มภาพ
           •  การประมวลผลภาพบางอย่างมีข้อจำกัด  เช่น  การหมุนภาพ  การปรับขนาดหรือสัดส่วนภาพถ้านำภาพมาขยาย ความสวยงามจะลดลง แต่ถ้าเพิ่มความละเอียด จะทำให้ภาพมีขนาดใหญ่
 กราฟิกเส้นสมมติหรือภาพแบบเวกเตอร ์(vector graphics)
             โปรแกรมสำหรับสร้างภาพที่ใช้เทคนิคกราฟิกเส้นสมมติโดยทั่วไปเรียกว่า  โปรแกรมวาดภาพ (draw program)  จะสร้างและเก็บข้อมูลภาพกราฟิกไว้ในรูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ที่บอกตำแหน่งของเส้นหรือจุดและความสัมพันธ์ว่า  จุดใดหรือเส้นใดเชื่อมโยงกันบ้าง  จึงสามารถปรับขนาดของภาพไดง่าย  และไม่ทำให้เสียรูปทรง


ตัวอย่างไฟล์ :  .EPS, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT
ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ เช่น Adobe Illustrator , Macromedia Freehand , Corel Draw เป็นต้น
ข้อดีของกาฟิกเส้นสมมติ 
             •  การจัดเก็บสิ้นเปลืองเนื้อที่น้อยกว่ากราฟิกแผนที่บิตมาก
             •  การประมวลผลบางอย่างเช่น การย่อขยายเปลี่ยนแปลงขนาดได้โดยความละเอียดไม่ลดลง การหมุนจะทำได้ดีกว่า
ข้อเสียของกราฟิกเส้นสมมติ 
             •  ไม่สามารถเก็บรายละเอียดของสีสันต่าง ๆ ได้ดี  เนื่องจากเก็บในรูปแบบสูตรของเส้น

โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก

ทุกวันนี้  เราเป็นผู้บริโภคงานกราฟิก  ซึ่งเป็นผลิตผลจากคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา  วีดิโอเกม  ผลการแข่งขันกีฬาบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์  การ์ตูนในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ 
ประเภทของโปรแกรมสำหรับงานกราฟิก 

 โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ผลิตผลงานกราฟิก  ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับใช้ทำงานกราฟิกเป็นจำนวนมาก  สามารถจัดแบ่งโปรแกรมสำหรับงานกราฟิกออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามแผนภาพ  ดังนี้  
           
  1)  กราฟิกวาดภาพ (drawing graphics)
                โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง  ภาพที่ซับซ้อนทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้เฉพาะงาน  ซึ่งแบ่งได้เป็น  2  กลุ่ม  คือ  โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ  และโปรแกรมช่วยออกแบบ
 โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ   ส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้งานที่มีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสร้างหรือวาดภาพหรือตกแต่งภาพที่คล้ายกัน  เช่น  การแบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วน ๆ  สำหรับเป็นพื้นที่วาดภาพซึ่งสามารถเลื่อนดูภาพในส่วนที่ไม่ได้ปรากฏบนจอ  รายการเลือก  กล่องเครื่องมือที่ประกอบด้วยสัญรูปเครื่องมือสำหรับใช้วาดรูป
 โปรแกรมช่วยออกแบบ   จะใช้ในงานกราฟิกทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  เช่น  แบบแปลนตึก  แบบอุปกรณ์  แบบรถยนต์  แบบเครื่องบิน  สามารถใช้เขียนภาพ  โดยมีมาตราส่วนจริงได้  โปรแกรมช่วยออกแบบทั่วไปยังแบ่งได้เป็นแบบ  2  มิติ  ตัวอย่างเช่น  ออโตแคด (Auto CAD) และ แบบ  3  มิติ  เช่น   3DMAX ซึ่งมักจะใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานโฆษณา
 2)  กราฟิกการนำเสนอ (presentation graphics)
โปรแกรมประเภทนี้ใช้นำเสนอข้อมูลหรือผลงานในรูปกราฟิก  ส่วนใหญ่โปรแกรมอนุญาตให้ใส่  ตัวอักษร  ภาพ  รูปกราฟต่าง ๆ  และมีการเก็บข้อมูลเป็นหน้า ๆ  เพื่อนำมาแสดงหรือนำเสนอได้ง่าย  ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่  โลตัส ฟรีเลนซ์ (lotus freelance)  ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft PowerPoint)
โปรแกรมแสดงข้อมูลทางกราฟิกสามารถจัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมประเภทนี้ได้  เนื่องจากใช้ข้อมูลจากการเก็บรวบรวม  คำนวณ  หรือทดลองมาแสดงผลเป็นรูปกราฟ  2  มิติ  หรือ  กราฟ  3  มิติ  ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
              นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมที่แสดงข้อมูลจากการคำนวณจำนวนมาก  เช่น  การสร้างแผนที่อากาศ  การทดสอบเครื่องบินในอุโมงค์ลม  การสร้างภาพนามธรรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

 ในอดีตคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ( Computer Graphics ) สามารถถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้แพร่หลายมากขึ้นและผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกก็มีอยู่ทุกระดับ
            แนวความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกจะว่าด้วยทุกๆ ส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นภาพ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของการสร้างภาพก่อน โดยเริ่มจากองค์ประกอบของภาพ รูปแบบของภาพในแต่ละแบบที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถสร้างขึ้นมาได้ รูปแบบของไฟล์ที่นำมาใช้งานมีอะไรบ้าง และถ้าต้องการนำภาพนั้นมาใช้กับงานพิมพ์ควรทำอย่างไร ในปัจจุบันสื่อโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา ไปเป็นสื่อใหม่ในลักษณะงานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่เรียกว่า “นักคอมพิวเตอร์กราฟิก” มาช่วยในการออกแบบงานต่างๆ หรือประยุกต์ใช้กับการทำงาน
ความรู้เรื่องความละเอียด

พิกเซล ( Pixel)      
          พิกเซล (Pixel) เป็นคำผสมของคำว่า Picture กับคำว่า Element หรือหน่วยพื้นฐานของภาพ เทียบได้กับ "จุดภาพ" 1 จุด แต่ละพิกเซลเปรียบได้กับสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่บรรจุค่าสี โดยถูกกำหนดตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และแกน y หรือในตารางเมตริกซ์สี่เหลี่ยม ภาพบิตแมปจะประกอบด้วยพิกเซลหลายๆ พิกเซล
ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution ) 

          คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่
ความละเอียดของรูปภาพ 

          หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ถ้ารูปภาพมีความละเอียด 300 dpi เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สามารถพิมพ์ได้ 300 dpi นั่นคือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะใช้ 1 จุดสำหรับแต่ละพิกเซลของภาพ
ความละเอียดของจอภาพ 

          หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600
ความละเอียดของเครื่องพิมพ์

           คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว เช่น ถ้าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์มีความละเอียด 300 จุดต่อนิ้ว ( dots per inch – dpi ) นั่นคือ เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ 300 จุดทุกๆ 1 นิ้ว
ระบบสีของคอมพิวเตอร์
 ระบบสี Additive       
            ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน
 สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB ดังนี้
RGB Color

 ระบบสี Subtractive
            ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง