วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดเก็บแฟ้มภาพกราฟิก

 ความละเอียดของภาพ 
             ความละเอียดของภาพหมายถึง  จำนวนจุดที่ใช้ในการประกอบกันเป็นภาพ  เช่น  ความละเอียดของภาพขนาด 640 x 480 จุด
จำนวนสี
           จำนวนสีหมายถึง  จำนวนสีที่จุดภาพสามารถเก็บหรือแสดงได้  เช่น จุดภาพ 1 จุดที่ใช้เนื้อที่ 8 บิต  จะมีจำนวนสีได้ 256 สี

รูปแบบของแฟ้มข้อมูลกราฟิก 
             รูปแบบของแฟ้มข้อมูลกราฟิก  หมายถึง  รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในการจัดเก็บภาพกราฟิกลงในแฟ้ม  มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน  ตัวอย่างเช่น
          1)  จิฟ  (Graphics interchange Format : GIF)  หรือที่มีส่วนขยายแฟ้มเป็น .GIF


จุดเด่น
  • มีขนาดไฟล์ต่ำ
  • สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent)
  • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace
  • มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก
  • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
  • ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)

จุดด้อย
  • แสดงสีได้เพียง 256 สี
ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่
GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987
              เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace)

GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 
 2)  เจเพ็ก (Joint Photographic Expert Group Graphics : JPEG)  หรือที่มีส่วนขยายแฟ้มเป็น    .JPEG เป็นรูปแบบของแฟ้มภาพกราฟิกแบบกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาพ ที่พัฒนาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐาน ( ISO) และคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศเกี่ยวกับโทรเลขและโทรศัพท์(CCITT)  รูปแบบนี้เหมาะสำหรับงานถ่ายภาพ  ภาพศิลปะ  และภาพวาดที่มีคุณภาพสีสันตามธรรมชาติ  ความละเอียดคมชัดไม่เหมาะกับงานภาพลายเส้น  ข้อความ  หรืองานการ์ตูนง่าย ๆจุดเด่น
  • สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
  • สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
  • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive
  • มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
  • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
  • ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files)
จุดด้อย
          ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้
 3)  บีเอ็มพี (bitmap)  หรือที่มีส่วนขยายแฟ้มเป็น  .bmp เป็นรูปแบบของแฟ้มภาพกราฟิกซึ่งออกแบบโดยบริษัทไมโครซอฟต์  เป็นรูปแบบพื้นฐานที่ใช้งานได้ดีกับโปรแกรมที่ทำงานภายใต้วินโดว์ และใช้งานมากบนระบบวินโดว์  จุดประสงค์ของรูปแบบ นี้เน้นให้แสดงผลได้รวดเร็วบนระบบวินโดว์
ข้อควรคำนึงในการจัดเก็บแฟ้มภาพกราฟิก 
 1)  เลือกใช้จำนวนสีให้เหมาะสม   การใช้จำนวนสีมากจะทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูง  แต่จะสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมาก  ดังนั้นการเลือกใช้จำนวนสีที่เหมาะสมกับภาพจะทำให้เปลืองเนื้อที่น้อยกว่าและส่งผลให้สามารถประมวลผลภาพได้เร็วขึ้น
2)  เลือกรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูลมีขนาดลดลง  รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกมีผลขนาดของแฟ้มข้อมูล  เช่น  รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิ แบบ  bmp  ถูกออกแบบมาเพื่อให้นำแสดงผลได้รวดเร็ว  แฟ้มเหล่านี้จะกินเนื้อที่มาก รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบเจเพ็ก  (.jpeg) มีผลให้คุณภาพของภาพด้อยลง  แต่ลดขนาดแฟ้มภาพกราฟิกให้มีขนาดหนึ่งในสามของรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบจิฟ (.gif)  ในขณะที่รูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกแบบจิฟ (.gif) เก็บจำนวนสี 256 สี  ดังนั้นควรเลือกรูปแบบแฟ้มข้อมูลกราฟิกที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บภาพกราฟิก
 3)  เลือกใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูล   ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บภาพในรูปแบบแฟ้มที่ลดขนาดข้อมูล  การเลือกใช้โปรแกรมบีบอัดข้อมูลบางตัว เช่น  pkzip หรือ  winzip จะช่วยลดขนาดข้อมูลในการจัดเก็บลงแฟ้มได้


เทคนิคการสร้างภาพกราฟิก

 การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์มีเทคนิคอยู่สองวิธี  คือ  กราฟิกแผนที่บิต (bitmapped graphics)  หรือกราฟิกแรสเตอร์ (raster graphics)  หรือกราฟิกจุดภาพ (pixel graphics) และกราฟิกเส้นสมมติ (vector graphics)  หรือกราฟิกเชิงวัตถุ (object – oriented graphics)
กราฟิกแผนที่บิตหรือภาพแบบบิตแมป (bitmapped graphics)
             โปรแกรมสำหรับสร้างภาพโดยใช้เทคนิคกราฟิกแผนที่บิต  ซึ่งทั่วไปเรียกว่า  โปรแกรมระบายสี (paint program)  จะสร้างและเก็บภาพกราฟิกไว้ในรูปแบบของจุดบนจอภาพ (screen pixels)  ซึ่งเรียงต่อกัน  โดยแต่ละจุดภาพ (pixels)  จะแยกกันยู่ในตำแหน่งหน่วยความจำอย่างอิสระ  มีลักษณะประจำของจุดแต่ละจุด  เช่น  สี  ความเข้มแสง  จึงทำให้สามารถปรับแต่งสีได้อย่างสวยงาม  แต่เนื่องจากการเรียงต่อของจุดภาพอยู่ในลักษณะตาราง  ภาพที่ได้จึงมีรอยหยักที่เกิดจากรูปสี่เหลี่ยมของจุดแต่ละจุด
ตัวอย่างไฟล์ :  .BMP, .PCS, .TIF, .GIF, .JPG, .PCD
ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทบิตแมป เช่น Adobe Photoshop , Fractal Design Painter , Paint Shop Pro , L-View เป็นต้น
ข้อดีของกราฟิกแผนที่บิต 
           •  สามารถเก็บรายละเอียดของภาพให้มีสีสันต่าง ๆ ได้ดีกว่า เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียด สวยงามได้ง่าย
           •  สามารถตกแต่งภาพและเพิ่มรายละเอียดพิเศษที่น่าสนใจ  เช่น  ปรับความเข้มแสง  ปรับแต่งสี  แรเงา
ข้อเสียของกราฟิกแผนที่บิต 
           •  สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บแฟ้มภาพ
           •  การประมวลผลภาพบางอย่างมีข้อจำกัด  เช่น  การหมุนภาพ  การปรับขนาดหรือสัดส่วนภาพถ้านำภาพมาขยาย ความสวยงามจะลดลง แต่ถ้าเพิ่มความละเอียด จะทำให้ภาพมีขนาดใหญ่
 กราฟิกเส้นสมมติหรือภาพแบบเวกเตอร ์(vector graphics)
             โปรแกรมสำหรับสร้างภาพที่ใช้เทคนิคกราฟิกเส้นสมมติโดยทั่วไปเรียกว่า  โปรแกรมวาดภาพ (draw program)  จะสร้างและเก็บข้อมูลภาพกราฟิกไว้ในรูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ที่บอกตำแหน่งของเส้นหรือจุดและความสัมพันธ์ว่า  จุดใดหรือเส้นใดเชื่อมโยงกันบ้าง  จึงสามารถปรับขนาดของภาพไดง่าย  และไม่ทำให้เสียรูปทรง


ตัวอย่างไฟล์ :  .EPS, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT
ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกประเภทเวกเตอร์ เช่น Adobe Illustrator , Macromedia Freehand , Corel Draw เป็นต้น
ข้อดีของกาฟิกเส้นสมมติ 
             •  การจัดเก็บสิ้นเปลืองเนื้อที่น้อยกว่ากราฟิกแผนที่บิตมาก
             •  การประมวลผลบางอย่างเช่น การย่อขยายเปลี่ยนแปลงขนาดได้โดยความละเอียดไม่ลดลง การหมุนจะทำได้ดีกว่า
ข้อเสียของกราฟิกเส้นสมมติ 
             •  ไม่สามารถเก็บรายละเอียดของสีสันต่าง ๆ ได้ดี  เนื่องจากเก็บในรูปแบบสูตรของเส้น

โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก

ทุกวันนี้  เราเป็นผู้บริโภคงานกราฟิก  ซึ่งเป็นผลิตผลจากคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา  วีดิโอเกม  ผลการแข่งขันกีฬาบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์  การ์ตูนในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ 
ประเภทของโปรแกรมสำหรับงานกราฟิก 

 โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกเป็นส่วนที่สำคัญยิ่งในการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ผลิตผลงานกราฟิก  ในปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับใช้ทำงานกราฟิกเป็นจำนวนมาก  สามารถจัดแบ่งโปรแกรมสำหรับงานกราฟิกออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามแผนภาพ  ดังนี้  
           
  1)  กราฟิกวาดภาพ (drawing graphics)
                โปรแกรมประเภทนี้ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลิตผลงานคุณภาพสูง  ภาพที่ซับซ้อนทางวิศวกรรม  ทางสถาปัตยกรรม และภาพกราฟิกอื่น ๆ แต่ละโปรแกรมจะมีลักษณะใช้เฉพาะงาน  ซึ่งแบ่งได้เป็น  2  กลุ่ม  คือ  โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ  และโปรแกรมช่วยออกแบบ
 โปรแกรมสร้างและตกแต่งภาพ   ส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้งานที่มีเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสร้างหรือวาดภาพหรือตกแต่งภาพที่คล้ายกัน  เช่น  การแบ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นส่วน ๆ  สำหรับเป็นพื้นที่วาดภาพซึ่งสามารถเลื่อนดูภาพในส่วนที่ไม่ได้ปรากฏบนจอ  รายการเลือก  กล่องเครื่องมือที่ประกอบด้วยสัญรูปเครื่องมือสำหรับใช้วาดรูป
 โปรแกรมช่วยออกแบบ   จะใช้ในงานกราฟิกทางด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม  เช่น  แบบแปลนตึก  แบบอุปกรณ์  แบบรถยนต์  แบบเครื่องบิน  สามารถใช้เขียนภาพ  โดยมีมาตราส่วนจริงได้  โปรแกรมช่วยออกแบบทั่วไปยังแบ่งได้เป็นแบบ  2  มิติ  ตัวอย่างเช่น  ออโตแคด (Auto CAD) และ แบบ  3  มิติ  เช่น   3DMAX ซึ่งมักจะใช้ในงานสถาปัตยกรรม หรืองานโฆษณา
 2)  กราฟิกการนำเสนอ (presentation graphics)
โปรแกรมประเภทนี้ใช้นำเสนอข้อมูลหรือผลงานในรูปกราฟิก  ส่วนใหญ่โปรแกรมอนุญาตให้ใส่  ตัวอักษร  ภาพ  รูปกราฟต่าง ๆ  และมีการเก็บข้อมูลเป็นหน้า ๆ  เพื่อนำมาแสดงหรือนำเสนอได้ง่าย  ตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ได้แก่  โลตัส ฟรีเลนซ์ (lotus freelance)  ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft PowerPoint)
โปรแกรมแสดงข้อมูลทางกราฟิกสามารถจัดอยู่ในกลุ่มโปรแกรมประเภทนี้ได้  เนื่องจากใช้ข้อมูลจากการเก็บรวบรวม  คำนวณ  หรือทดลองมาแสดงผลเป็นรูปกราฟ  2  มิติ  หรือ  กราฟ  3  มิติ  ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
              นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมที่แสดงข้อมูลจากการคำนวณจำนวนมาก  เช่น  การสร้างแผนที่อากาศ  การทดสอบเครื่องบินในอุโมงค์ลม  การสร้างภาพนามธรรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

 ในอดีตคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ( Computer Graphics ) สามารถถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้แพร่หลายมากขึ้นและผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกก็มีอยู่ทุกระดับ
            แนวความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกจะว่าด้วยทุกๆ ส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นภาพ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของการสร้างภาพก่อน โดยเริ่มจากองค์ประกอบของภาพ รูปแบบของภาพในแต่ละแบบที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถสร้างขึ้นมาได้ รูปแบบของไฟล์ที่นำมาใช้งานมีอะไรบ้าง และถ้าต้องการนำภาพนั้นมาใช้กับงานพิมพ์ควรทำอย่างไร ในปัจจุบันสื่อโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ป้ายโฆษณา ไปเป็นสื่อใหม่ในลักษณะงานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งเราจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่เรียกว่า “นักคอมพิวเตอร์กราฟิก” มาช่วยในการออกแบบงานต่างๆ หรือประยุกต์ใช้กับการทำงาน
ความรู้เรื่องความละเอียด

พิกเซล ( Pixel)      
          พิกเซล (Pixel) เป็นคำผสมของคำว่า Picture กับคำว่า Element หรือหน่วยพื้นฐานของภาพ เทียบได้กับ "จุดภาพ" 1 จุด แต่ละพิกเซลเปรียบได้กับสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่บรรจุค่าสี โดยถูกกำหนดตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และแกน y หรือในตารางเมตริกซ์สี่เหลี่ยม ภาพบิตแมปจะประกอบด้วยพิกเซลหลายๆ พิกเซล
ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution ) 

          คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่
ความละเอียดของรูปภาพ 

          หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ถ้ารูปภาพมีความละเอียด 300 dpi เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สามารถพิมพ์ได้ 300 dpi นั่นคือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะใช้ 1 จุดสำหรับแต่ละพิกเซลของภาพ
ความละเอียดของจอภาพ 

          หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600
ความละเอียดของเครื่องพิมพ์

           คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว เช่น ถ้าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์มีความละเอียด 300 จุดต่อนิ้ว ( dots per inch – dpi ) นั่นคือ เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ 300 จุดทุกๆ 1 นิ้ว
ระบบสีของคอมพิวเตอร์
 ระบบสี Additive       
            ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน
 สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สีน้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB ดังนี้
RGB Color

 ระบบสี Subtractive
            ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง



วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานราชการ

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในงานทะเบียนราษฎร์ช่วยในการนับคะแนนการ เลือกตั้ง และการประกาศผลเลือกตั้งการคิดภาษีอากร การเก็บข้อมูลสถิติสัมมโนประชากร การเก็บเงินค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าใช้โทรศัพท์
เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

กระทรวงยุติธรรมใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกคำพิพากษาศาลฎิกาฉบับย่อทุกคดีให้ผู้พิพากษาได้ค้นหาคดีต่าง ๆ เพื่อประกอบพิจารณาตัดสินความ
                กระทรวงศึกษาธิการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำประวัติครูทั่วประเภท ทำสถิตินักเรียนและโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อช่วยในการบริหารการศึกษาทั่วประเทศ
                 กระทรวงพาณิชย์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำสถิติข้อมูลการค้าของประเทศ ทำดัชนีราคา เก็บทะเบียนการค้า การควบคุมโควต้าการส่งออกสินค้าบางชนิด ฯลฯ
                กระทรวงอุตสาหกรรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บทะเบียนโรงงาน ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติกระทรวงเกษตรใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร เพื่อวางแผนร่วมกับ
                กระทรวงพาณิชย์ในการส่งเสริมการผลิต



วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

osi model 7 layer


โครงสร้างของโมเดล OSI ทั้ง 7 ชั้น มีรายละเอียด ดังนี้  
  1. Application Layer – เป็นชั้นบนสุดของ OSI Model คำว่า Application ในที่นี้หมายถึง ข้อกำหนดหรือวิธีการที่แอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมหรือแม้แต่ตัวระบบปฏิบัติการ จะใช้ติดต่อสั่งการหรือขอใช้บริการต่างๆ
  2. Presentation Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจัดรูปแบบที่รับมาจาก Session Layer ให้อยู่ในรูปแบบที่ Application แต่ละตัวจะสามารถเข้าใจได้ โดยจะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างๆชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังให้บริการถอดหรือเข้ารหัสข้อมูลบางประเภทอีกด้วย
  3. Session Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจับคู่หรือเชื่อมโยง Application ที่อยู่ต่างเครื่องกัน เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้น ควรเป็นของ Application คู่ไหน ทำให้เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมในการสื่อสารพร้อมกันได้หลายๆตัว เช่น เราสามารถเปิดโปรแกรม Brownser พร้อมๆกันกับการอ่านโปรแกรม e-Mail เป็นต้น
  4. Transport Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแบ่งข้อมูลที่รับมาจาก Session Layer ซึ่งโดยมากจะมีขนาดใหญ่ให้เป็นแพ็คเก็ตขนาดคงที่ ก่อนจะส่งต่อให้ชั้น Network Layer ส่วนในแง่ของการรับข้อมูลนั้น ก็จะทำหน้าที่ประกอบแพ็คเก็ตให้กลับมาเป็นข้อมูลดังเดิม นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดจากการจัดลำดับความเร่งด่วนของแพ็คเก็ตและควบคุมความเร็วในการรับส่งแพ็คเก็ตอีกด้วย
  5. Network Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการกำหนดหมายเลขประจำเครื่อง เพื่อใช้อ้างอิงหรือแยกแยะความแตกต่างของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวในระบบเครือข่าย โดยหมายเลขเครื่องดังกล่าวนี้จะจับคู่กับหมายเลข MAC Address ที่ใช้อ้างอิงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในชั้นของ Data Link และยังรับผิดชชอบการกำหนดเส้นทางของการลำเลียง Packet อีกด้วย
  6. Data Link Layer หรือ DLL – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการควบคุมการรับส่งข้อมูลโดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับ Protocal หรือชนิดของเครือข่ายที่ใช้
  7. Physical Layer – เป็นชั้นล่างสุดที่ว่าด้วยการติดต่อระหว่าง Hardware และการกำหนดลักษณะทางกายภาพของสื่อต่างๆที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เช่น การใช้สายสัญญาณหรือ Connecter แบบไหน เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งต่อมาจากชั้น Data Link เพื่อส่งออกไปยังระบบเครือข่าย โดยข้อมูลที่มาจากชั้นของ Data Link นั้นจะถูกมองเป็นรูปแบบที่เป็นบิตเรียงกัน ไปในลักษณะ 0 หรือ 1 ที่เรียกว่า Binary Notation ก่อนที่จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่แทนค่า Binary ออกสู่ระบบเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อสิ่งพิมพ์

1.ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ดังนี้ คำว่าสิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสีใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
          “สื่อ หมายถึง ก. ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
                            น. ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน
          “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
                            น. รูป , รูปร่างร่างกายแบบ
           ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ

2.ทำการสรุปประวัติความเป็นมาของสื่อสิ่งพิมพ์อย่างละเอียด
--   ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์  ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธ ิ์จำหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนำ เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง
3. กระดาษที่ใช้ในงานพิมพ์
          การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้ 
            กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก
            กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น
            กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้
            กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์ 
            กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน
            กระดาษเหนียว (Kraft Paper)  เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ
            กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง
            กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ
           กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
           กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์
         กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ 
--  
4.จงอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้--     การประมวลผลแบบ Raster หรือ แบบมิตแมป (Bitmap) หรือเรียกว่าเป็นภาพแบบ Resolution Dependent ลักษณะสำคัญของภาพประเภทนี้ ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว ตามการสร้างภาพที่มีความละเอียดต่างกันไป ภาพแบบบิตแมปนี้ มีข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องละเอียดและสวยงามได้ง่าย ข้อจำกัดคือ เมื่อมีพิกเซลจำนวนคงที่ นำภาพมาขยายให้ใหญ๋ขึ้น ความละเอียดจะลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด และถ้าเพิ่มความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ และเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำมาก
     ในระบบวินโดวส์ (Windows) ไฟล์ของรูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีส่วนขยายหรือ นามสกุล (Extension) เป็น .BMP , .PCX, .TIF, .JPG, .MSP, .PCD, .PCT โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ โปรแกรมประเภทระบายภาพ (Painting Program) เช่น Paintbrush, Photoshop,Photostyler เป็นต้น
--     การประมวลผลแบบ Vector เป็นภาพแบบเวกเตอร์ หรือ Object-Oriented Graphics หรือเรียกว่า เป็นรูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่มีลักษณะของการสร้างจากคอมพิวเตอร์ที่มีการสร้างให้แต่ละส่วนของภาพเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรงรูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งมีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ จึงเรียกประเภท Vector Graphic หรือ Object Oriented ภาพเวกเตอร์นี้มีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนแปลงขนาด โดยมีความละเอียดของภาพไม่ลดลง ภาพสามารถเปลี่ยนแปลงหรือย้ายได้และมีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่าพวกบิทแมป
--   อุปกรณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

--     เครื่อง Scanner คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
--     กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล สามารถถ่ายและให้ภาพเป็นได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปลงภาพทำให้สามารถประหยัดเวลาได้อย่างมากมาย อีกทั้งภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอลเป็นภาพที่มีความละเอียด
--     เครื่องพิมพ์ คือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร ข้อความ และรูปภาพ ที่อยู่บนจอภาพให้ไปปรากฏบนกระดาษ เพื่อสามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆ ได้
--     กระดานกราฟฟิก คือ อุปกรณ์ที่ใช้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์กราฟิก โดยช่วยให้สามารถวาดภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับการวาดภาพบนกระดาษ  อุปกรณ์นี้จะมีส่วนที่เป็นเมนูคำสั่งบนอุปกรณ์และส่วนวาดภาพ  เมื่อลากเส้นบนส่วนวาดภาพโดยใช้ปากกาที่ให้มาด้วยจะปรากฏเส้นบนจอคอมพิวเตอร์ในลักษณะเดียวกัน  นอกจากนั้นยังสามารถเปลี่ยนสีปากกาและระบายสีได้  อุปกรณ์นี้เหมาะกับงานกราฟิกทางด้านศิลปะหรือการตกแต่งภาพที่ได้จากอุปกรณ์นำเข้าภาพ
--     ปากกาแสง  เป็นปากกาพิเศษที่มีสานต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์  ใช้สำหรับการบอกตำแหน่ง  ข้อดีของปากกาแสงคือ  สามารถจี้ไปบนจอภาพโดยตรงเพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุซึ่งมองเห็นบนจอภาพได้ทันที
--     จอสัมผัส จะทำงานคล้ายกับปากกาแสง แต่จอภาพจะเคลือบสารพิเศษ  ทำให้สามารถรับตำแหน่งของการสัมผัสด้วยมือมนุษย์ได้ทันที
--     พล็อตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลกราฟิกที่มีปากกาเคลื่อนที่บนแกน  สามารถเขียนรูปร่างต่าง ๆ  บนกระดาษตามคำสั่งจากโปรแกรม  ปกติจะใช้ในการเขียนแบบทางวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่
____________________

--   หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
--     ระบบสีของคอมพิวเตอร์
     ระบบสีของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับการแสดงผลของแสงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีการแสดงผลสีใด บนจอภาพจะแสดงเป็น"สีดำ" ส่วนสีอื่น ๆเกิดจากการแสดงสีหลาย ๆ สีแต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า"การแสดงสีระบบ Additive"
--     ระบบสีระบบ Additive
     สีในระบบ ประกอบด้วยสีหลักสี คือ แดง เขียว น้ำเงิน เรียกรวมกันว่า RGB หรือ แม่สี
--     ระบบสีที่ใช้ในงานพิมพ์
     ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า สีม่วงแดง และสีเหลืองคือ ระบบ CMYX
--     คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
         1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
         2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
-- คอมพิวเตอร์กราฟฟิกกับการออกแบบ
คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในงานออกแบบมาเป็นเวลานาน คำว่า CAD (ComputerAided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรมเริ่มเป็นที่รู้จัก โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้น แล้วลงสี แสง เงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้ นอกจากนี้แล้ว เมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่าง ๆ ได้ด้วย การแก้ไขแบบนี้ก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่า การ ออกแบบบนกระดาษ ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่าง ๆ ผู้ออกแบบสามารถวาดวงจรบนจอภาพโดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ แล้วประกอบกันเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งมีความสามารถจัดการให้แผ่นวงจรมีขนาดที่จะวางอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมาะสมที่สุด

-- กราฟและแผนงาน
คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟ และแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาด จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟ และแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้สามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลมนอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟ หรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่าง ๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟ และแผนภาพ มีส่วนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้น เมื่อข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์มีจำนวนมาก
ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนงาน ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้น ออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์
-- ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก
การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใคร ๆ ก็สามารถวาดได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถกำหนดสี แสง เงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ สามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย และสามารถนำภาพต่าง ๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์(Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข
-- 5.ข้อแตกต่างระหว่างโหมดสี RGB และ CYMX-- โหมดสี RGB ย่อมาจาก Red Green Blue แสงสีขาวจากธรรมชาติหรือแสงจากดวงอาทิยต์ เกิดจากการผสมสีของแม่สีสามสีคือ แดง เขียวและน้ำเงิน ซึ่งเหมือนกับสีที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งโหมดสี RGB นี้ เหมาะสำหรับการนำภาพไปเป็น ฟิล์มสไลด์/เนกาตีฟ เวลาใช้งานใน Photoshp ส่วนใหญ่เราจะใช้ Mode RGB ในการทำงาน
-- โหมดสี CMYK ย่อมาจาก Cyan Megenta Yellow Black เป็นลักษณะโหมดสีที่เหมาะสำหรับใช้ในงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูงและได้สีที่ไม่ผิดเพี้ยน

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สันญาณไวเลสมีอันตรายหรือไม่

ในโลกปัจจุบันหลายพื้นที่พยายามสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ต้องการการติดต่อสื่อสาร ทำงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต จึงมีการติดตั้งการปล่อยสัญญาณเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกกันว่า “WIFI” หรือ “WIRELESS” แต่ความสะดวกสบายใช่จะมีแต่เรื่องดีเสมอไป ตอนนี้ การใช้สัญญาณไวร์เลส สาธารณะในบางพื้นที่เริ่มไม่ปลอดภัยจากแฮ็กเกอร์ที่พยายามล้วงความลับข้อมูลของเราอยู่ ดังนั้น จึงเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการใช้ระบบสื่อสารไร้สาย ทั้งไวร์เลสและบลูทูธว่า ไม่ควรเชื่อมต่อระบบไวร์เลสกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊กที่มีข้อมูลสำคัญ หากจะเก็บข้อมูลสำคัญควรเก็บไว้ในที่ๆ แฮกเกอร์เข้าถึงยาก เช่น แฟลชไดร์ เอ็กเทอร์นอลฮาร์ดดิสก์ ซีดี และควรเข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญ เป็นต้น ยิ่งนำไปใช้ในที่สาธารณะควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ส่วนกรณีของผู้ที่จำเป็นต้องใช้บลูทูธ ไม่ควรเก็บข้อมูลที่สำคัญหรือเป็นความลับไว้ในโทรศัพท์ เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้บูลทูธ ก็ให้ปิดสัญญาณ และหากมีความจำเป็นต้องทำธุรกรรมการเงินกับธนาคาร ก็ไม่ควรจะใช้ในที่สาธารณะก็จะปลอดภัยที่สุด วันนี้ผมก็ขอจบบล็อกเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้สัญญาณWIRELESS นะครับ ยังไงก็ระมัดระวังกันด้วยนะครับ