วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อสิ่งพิมพ์

1.ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ดังนี้ คำว่าสิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสีใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
          “สื่อ หมายถึง ก. ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
                            น. ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน
          “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
                            น. รูป , รูปร่างร่างกายแบบ
           ดังนั้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จึงมีความหมายว่า “สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ

2.ทำการสรุปประวัติความเป็นมาของสื่อสิ่งพิมพ์อย่างละเอียด
--   ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์  ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธ ิ์จำหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้นใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนำ เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง
3. กระดาษที่ใช้ในงานพิมพ์
          การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้ 
            กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก
            กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น
            กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้
            กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์ 
            กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน
            กระดาษเหนียว (Kraft Paper)  เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ
            กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง
            กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ
           กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
           กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์
         กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ 
--  
4.จงอธิบายรายละเอียดต่อไปนี้--     การประมวลผลแบบ Raster หรือ แบบมิตแมป (Bitmap) หรือเรียกว่าเป็นภาพแบบ Resolution Dependent ลักษณะสำคัญของภาพประเภทนี้ ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว ตามการสร้างภาพที่มีความละเอียดต่างกันไป ภาพแบบบิตแมปนี้ มีข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องละเอียดและสวยงามได้ง่าย ข้อจำกัดคือ เมื่อมีพิกเซลจำนวนคงที่ นำภาพมาขยายให้ใหญ๋ขึ้น ความละเอียดจะลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด และถ้าเพิ่มความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ และเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำมาก
     ในระบบวินโดวส์ (Windows) ไฟล์ของรูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีส่วนขยายหรือ นามสกุล (Extension) เป็น .BMP , .PCX, .TIF, .JPG, .MSP, .PCD, .PCT โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ โปรแกรมประเภทระบายภาพ (Painting Program) เช่น Paintbrush, Photoshop,Photostyler เป็นต้น
--     การประมวลผลแบบ Vector เป็นภาพแบบเวกเตอร์ หรือ Object-Oriented Graphics หรือเรียกว่า เป็นรูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่มีลักษณะของการสร้างจากคอมพิวเตอร์ที่มีการสร้างให้แต่ละส่วนของภาพเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรงรูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งมีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ จึงเรียกประเภท Vector Graphic หรือ Object Oriented ภาพเวกเตอร์นี้มีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนแปลงขนาด โดยมีความละเอียดของภาพไม่ลดลง ภาพสามารถเปลี่ยนแปลงหรือย้ายได้และมีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่าพวกบิทแมป
--   อุปกรณ์ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

--     เครื่อง Scanner คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ
--     กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล สามารถถ่ายและให้ภาพเป็นได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปลงภาพทำให้สามารถประหยัดเวลาได้อย่างมากมาย อีกทั้งภาพที่ได้จากกล้องดิจิตอลเป็นภาพที่มีความละเอียด
--     เครื่องพิมพ์ คือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร ข้อความ และรูปภาพ ที่อยู่บนจอภาพให้ไปปรากฏบนกระดาษ เพื่อสามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆ ได้
--     กระดานกราฟฟิก คือ อุปกรณ์ที่ใช้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์กราฟิก โดยช่วยให้สามารถวาดภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับการวาดภาพบนกระดาษ  อุปกรณ์นี้จะมีส่วนที่เป็นเมนูคำสั่งบนอุปกรณ์และส่วนวาดภาพ  เมื่อลากเส้นบนส่วนวาดภาพโดยใช้ปากกาที่ให้มาด้วยจะปรากฏเส้นบนจอคอมพิวเตอร์ในลักษณะเดียวกัน  นอกจากนั้นยังสามารถเปลี่ยนสีปากกาและระบายสีได้  อุปกรณ์นี้เหมาะกับงานกราฟิกทางด้านศิลปะหรือการตกแต่งภาพที่ได้จากอุปกรณ์นำเข้าภาพ
--     ปากกาแสง  เป็นปากกาพิเศษที่มีสานต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์  ใช้สำหรับการบอกตำแหน่ง  ข้อดีของปากกาแสงคือ  สามารถจี้ไปบนจอภาพโดยตรงเพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุซึ่งมองเห็นบนจอภาพได้ทันที
--     จอสัมผัส จะทำงานคล้ายกับปากกาแสง แต่จอภาพจะเคลือบสารพิเศษ  ทำให้สามารถรับตำแหน่งของการสัมผัสด้วยมือมนุษย์ได้ทันที
--     พล็อตเตอร์ เป็นอุปกรณ์แสดงผลกราฟิกที่มีปากกาเคลื่อนที่บนแกน  สามารถเขียนรูปร่างต่าง ๆ  บนกระดาษตามคำสั่งจากโปรแกรม  ปกติจะใช้ในการเขียนแบบทางวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่
____________________

--   หลักการใช้สีและแสงในเครื่องคอมพิวเตอร์
--     ระบบสีของคอมพิวเตอร์
     ระบบสีของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับการแสดงผลของแสงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีการแสดงผลสีใด บนจอภาพจะแสดงเป็น"สีดำ" ส่วนสีอื่น ๆเกิดจากการแสดงสีหลาย ๆ สีแต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า"การแสดงสีระบบ Additive"
--     ระบบสีระบบ Additive
     สีในระบบ ประกอบด้วยสีหลักสี คือ แดง เขียว น้ำเงิน เรียกรวมกันว่า RGB หรือ แม่สี
--     ระบบสีที่ใช้ในงานพิมพ์
     ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า สีม่วงแดง และสีเหลืองคือ ระบบ CMYX
--     คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
         1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
         2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
-- คอมพิวเตอร์กราฟฟิกกับการออกแบบ
คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในงานออกแบบมาเป็นเวลานาน คำว่า CAD (ComputerAided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรมเริ่มเป็นที่รู้จัก โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้น แล้วลงสี แสง เงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้ นอกจากนี้แล้ว เมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่าง ๆ ได้ด้วย การแก้ไขแบบนี้ก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่า การ ออกแบบบนกระดาษ ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่าง ๆ ผู้ออกแบบสามารถวาดวงจรบนจอภาพโดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ แล้วประกอบกันเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งมีความสามารถจัดการให้แผ่นวงจรมีขนาดที่จะวางอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมาะสมที่สุด

-- กราฟและแผนงาน
คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟ และแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาด จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟ และแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้สามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลมนอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟ หรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่าง ๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟ และแผนภาพ มีส่วนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้น เมื่อข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์มีจำนวนมาก
ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนงาน ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้น ออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์
-- ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก
การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใคร ๆ ก็สามารถวาดได้แล้ว โดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก สามารถกำหนดสี แสง เงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ สามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย และสามารถนำภาพต่าง ๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์(Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข
-- 5.ข้อแตกต่างระหว่างโหมดสี RGB และ CYMX-- โหมดสี RGB ย่อมาจาก Red Green Blue แสงสีขาวจากธรรมชาติหรือแสงจากดวงอาทิยต์ เกิดจากการผสมสีของแม่สีสามสีคือ แดง เขียวและน้ำเงิน ซึ่งเหมือนกับสีที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งโหมดสี RGB นี้ เหมาะสำหรับการนำภาพไปเป็น ฟิล์มสไลด์/เนกาตีฟ เวลาใช้งานใน Photoshp ส่วนใหญ่เราจะใช้ Mode RGB ในการทำงาน
-- โหมดสี CMYK ย่อมาจาก Cyan Megenta Yellow Black เป็นลักษณะโหมดสีที่เหมาะสำหรับใช้ในงานสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูงและได้สีที่ไม่ผิดเพี้ยน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น